วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บทที่ 5 สรุปผลการทดลอง


การศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการขจัดคราบยางกล้วยจากผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการนำผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวมาใช้ในการขจัดคราบยางกล้วยและเปรียบเทียบประสิทธิภาพของผลไม้ทั้งสามชนิด สามารถสรุปผลการทดลองได้ดังนี้

สรุปผลการทดลอง

1.             จากการศึกษาโดยการนำผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวทั้งสามชนิดมาขจัดคราบยางกล้วย

                ผลการศึกษาสรุปได้ว่าผลไม้ทั้งสามชนิดสามารถขจัดคราบยางกล้วยได้โดยนำผลไม้ทั้งสามชนิดมาคั้นน้ำแล้วนำแต่ละชนิดไปเทลงบนผ้าขาวเปื้อนคราบยางกล้วยที่เตรียมไว้จำนวนสามชิ้นขนาดประมาณ 10×10 เซนติเมตรแล้วทิ้งไว้ 3 นาที เมื่อครบ 3 นาทีแล้ว เทผลซักฟอกในปริมาณที่เท่า ๆ กันลงบนผ้าทั้งสามชิ้น จากนั้นขัดด้วยแปรงซักผ้าแล้วล้างออกด้วยน้ำเปล่าให้สะอาด

2.             จากการศึกษาโดยการเปรียบเทียบประสิทธิภาพการขจัดคราบยางกล้วยด้วยผลไม้ที่มีเปรี้ยวทั้งสามชนิด คือ ส้ม มะนาว และมะกรูด

พบว่ามะนาวมีประสิทธิภาพในการขจัดคราบยางกล้วยมากกว่ามะกรูดและส้มตามลำดับ

ปัญหา/อุปสรรค/ข้อเสนอแนะ

                การเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการขจัดคราบยางกล้วยด้วยผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวทั้งสามชนิด คือ ส้ม มะนาว มะกรูด มีปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะ ดังนี้

1.             ปัญหาในการตั้งประเด็น

คือ จากการสังเกตผงซักฟอกไม่สามารถขจัดคราบยางกล้วยได้เนื่องจากมีฤทธิ์
กัดกร่อนไม่เพียงพอ ผู้จัดทำจึงคิดว่าสารที่มีสภาพความเป็นกรดสูงน่าจะมีฤทธิ์กัดกร่อน
คราบยางกล้วยได้เพียงพอ ซึ่งสารที่มีสภาพความเป็นกรดสูงที่หาได้ง่ายที่สุดคือได้จากผลไม้
ที่มีรสเปรี้ยว

2.             ปัญหาในการสืบค้นข้อมูล
พบว่าน้ำส้มสายชูที่มีการทดลองมาแล้วสามารถขจัดตราบยางกล้วยได้ แต่ในการทดลองครั้งนี้อาจทำให้เสื้อผ้าเป็นด่างหรือขาดได้ เนื่องจากในน้ำส้มสายชูมีกรดแอซิติกอยู่

ปริมาณมาก ผู้จัดทำจึงค้นคว้าข้อมูลหากรดที่ได้จากธรรมชาติ ซึ่งมีปริมาณกรดแอซิติกน้อยกว่าน้ำส้มสายชู แต่สามารถขจัดคราบยางกล้วยได้ดีและไม่ทำให้เสื้อผ้าเป็นรอยด่างหรือขาด

3.             ปัญหาในการทดลอง

1.1                เตรียมอุปกรณ์ไม่พร้อม

1.2                สถานที่ไม่ค่อยสะดวก

1.3                ความคลาดเคลื่อนในการจับเวลาช่วงทดลอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น